เทศบาลตำบลปลาปาก
เป็นเทศบาลตำบลที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอปลาปาก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดนครพนม
ซึ่งเปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาลปลาปากตาม พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒
มีระยะทางจากตัวจังหวัดนครพนมถึงเทศบาลตำบลปลาปาก ประมาณ
๔๔ กิโลเมตร มีอาณาเขตด้านเหนือ
หรือด้านตะวันออก ตั้งแต่หลักเขต
ที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗๖ กุรุคุ - ปลาปาก ทิศตะวันตก กม. ๑๓๒๑๐๐ ที่คอสะพานห้วยหิน ฝั่งเหนือเลียบห้วยหินไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และเลียบริมห้วยบังขนัง ฝั่งตะวันออกผ่านถนนไปบ้านปลาปากน้อยถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่อยู่ริมทาง รพช.หมายเลข ๑๑๐๐๒ สายบ้านหนองฮี - มหาชัย ฟากตะวันออกที่คอสะพานข้ามห้วยบังขนังฝั่งตะวันออก ด้านใต้ จากหลักเขตที่ ๒ เลียบริมห้วยบังขนังฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ผ่านถนนไปบ้านหนองหมากแก้ว และเลียบริมห้วยม่วงไข่ฝั่งใต้ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งริมถนนบ้านวังสิมฟากใต้ที่คอสะพานข้ามห้วยม่วงไข่ฝั่งตะวันตก ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ ๓ เป็น
เส้นตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านถนนไปบ้านวังยางไปบรรจบหลักเขตที่ ๔ที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗๖ กุรุคุ - ปลาปาก ทิศตะวันตก กม. ๑๓๒๑๐๐ ที่คอสะพานห้วยหิน ฝั่งเหนือเลียบห้วยหินไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และเลียบริมห้วยบังขนัง ฝั่งตะวันออกผ่านถนนไปบ้านปลาปากน้อยถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่อยู่ริมทาง รพช.หมายเลข ๑๑๐๐๒ สายบ้านหนองฮี - มหาชัย ฟากตะวันออกที่คอสะพานข้ามห้วยบังขนังฝั่งตะวันออก ด้านใต้ จากหลักเขตที่ ๒ เลียบริมห้วยบังขนังฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ผ่านถนนไปบ้านหนองหมากแก้ว และเลียบริมห้วยม่วงไข่ฝั่งใต้ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งริมถนนบ้านวังสิมฟากใต้ที่คอสะพานข้ามห้วยม่วงไข่ฝั่งตะวันตก ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ ๓ เป็น
พื้นที่ เทศบาลตำบลปลาปากมีพื้นที่ ๑๒.๑
ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๗๕๖๒.๕๐
ไร่ ครอบคลุม พื้นที่
๕ คือ
1. บ้านปลาปาก หมู่ที่ ๑
2. บ้านปลาปาก หมู่ที่ ๒
3. บ้านกอก หมู่ที่ ๕
4. บ้านโนนคูณ หมู่ที่ ๑๑
5. บ้านปลาปากทุ่ง หมู่ที่ ๑๓
ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปลาปาก มีทั้งหมด
๑๐ ชุมชน คือ
1. ชุมชนหลักเมือง
2. ชุมชนศรีคูณเมืองร่วมใจ
3. ชุมชนร่วมสุขสบาย
4. ชุมชนร่วมมิตรพัฒนา
5. ชุมชนสุขสันต์พิทักษ์ประชา
6. ชุมชนนิมิตรสัมพันธ์
7. ชุมชนประชาสุขสันต์
8. ชุมชนอิสานนภาลัย
9. ชุมชนโนนคูณพัฒนา
10. ชุมชนปลาปากทุ่ง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านหนองบัว ตำบลปลาปาก
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อบ้านหนองหมากแก้ว ตำบลหนองเทาใหญ่ อำเภอปลาปาก
จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านนาขาม ตำบลปลาปาก
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านโนนศิวิไล ตำบลปลาปาก
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
2.2 สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิประเทศ
โดยทั่วไปเทศบาลตำบลปลาปากมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบจนถึงเป็นลูกคลื่นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรประชาชนตั้งถิ่นฐานเกาะกลุ่มบริเวณสองข้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗๖
และกระจายทั่วไปตามแนวเส้นทางคมนาคมในชุมชนจากทางทิศเหนือเรื่อยไปทางทิศตะวันออก ดินส่วนใหญ่จะเป็นลูกรัง
สภาพภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งได้
๓ ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์
- เมษายน ของทุกปี
อากาศจะร้อนอบอ้าว
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม -
ตุลาคม ของทุกปี จะมีฝนตกชุก
ปริมาณน้ำฝน ประมาณ ๒,๐๐๐
- ๒,๔๐๐ มิลลิเมตร/ปี
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม -
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี อากาศทั่วไปเฉลี่ยจะหนาวเย็น
๒.๓ การปกครองและประชากร ( ข้อมูล ณ เมษายน
๒๕๕๓)
เทศบาลตำบลปลาปาก แบ่งการปกครองออกเป็น ๕
หมู่บ้าน ๑๐ ชุมชน
โดยมีข้อมูลครัวเรือนทั้งสิ้น ๑,๒๑๙ หลัง ประชากรทั้งสิ้น ๓๘๕๐ คน
เป็นชาย ๑,๘๖๘ คน
หญิง ๑,๙๘๒ คน
แยกเป็นรายหมู่บ้านได้ดังนี้
๑. บ้านปลาปาก หมู่ที่
๑ ประชากร ๑,๐๒๒ คน เป็นชาย
๔๙๒ คน หญิง ๕๓๐ คน
๒. บ้านปลาปาก หมู่ที่ ๒
ประชากร
๑,๒๔๙ คน เป็นชาย ๕๙๕ คน หญิง
๖๕๔ คน
๓. บ้านกอก หมู่ที่ ๕ ประชากร
๙๖๕ คน เป็นชาย ๔๖๗ คน
หญิง ๔๙๘ คน๔. บ้านโนนคูณ หมู่ที่ ๑๑
ประชากร ๒๙๓ คน
เป็นชาย
๑๔๗ คน หญิง ๑๔๖ คน๕. บ้านปลาปากทุ่ง หมู่ที่ ๑๓
ประชากร ๓๐๓ คน
เป็นชาย
๑๕๖ คน หญิง ๑๔๗
คน๖. ทะเบียนบ้านกลาง หมู่ที่ ๐ ประชากร
๑๘ คน
เป็นชาย ๑๑
คน หญิง ๗
คน
๒.๔ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
เทศบาลตำบลปลาปาก มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๐
ชุมชน ประกอบไปด้วยหลายเผ่า ได้แก่
ภูไท, ไทยญ้อ ฯลฯ ประชาชนส่วนใหญ่ (๑๐๐ %) นับถือศาสนาพุทธศาสนาอื่นๆไม่มี สภาพทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวมขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรม การค้าขาย และการบริการ ประชาชนตามชุมชนรอบนอกประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ข้าว แตงโม แตงไทย ข้าวโพด และอื่น ๆ การประกอบสินค้าธุรกิจการพาณิชย์และบริการส่วนใหญ่เป็นรูปเจ้าของคนเดียว การรวมเป็นห้างหุ้นส่วนและบริษัทมีจำนวนน้อย
ภูไท, ไทยญ้อ ฯลฯ ประชาชนส่วนใหญ่ (๑๐๐ %) นับถือศาสนาพุทธศาสนาอื่นๆไม่มี สภาพทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวมขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรม การค้าขาย และการบริการ ประชาชนตามชุมชนรอบนอกประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ข้าว แตงโม แตงไทย ข้าวโพด และอื่น ๆ การประกอบสินค้าธุรกิจการพาณิชย์และบริการส่วนใหญ่เป็นรูปเจ้าของคนเดียว การรวมเป็นห้างหุ้นส่วนและบริษัทมีจำนวนน้อย